คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
จะเปลี่ยนคุณ…จากคนธรรมดาให้เป็นคนที่ประสบความสำเร็จ เป็นที่ๆให้คุณได้ลองคิด ลองทำ ในสถานการณ์จริง คณะของเรามี 11 สาขาวิชาและ 9 แขนงวิชา ที่สอดคล้องกับอาชีพยุคใหม่ เปิดโอกาสให้นักเรียนทั้งสายวิทย์และสายศิลป์ พลิกชีวิต…เรียนวิทย์สวนนันท์
สาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม
หลักสูตรพัฒนาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างทักษะและกระบวนการแสวงหาความรู้ที่จะนำสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม สามารถเชื่อมโยงและบูรณาการความรู้ ด้าน ฟิสิกส์ เคมี และคณิตศาสตร์ประยุกต์ เพื่อนำไปพัฒนาในอนาคต
สาขานี้มี 3 แขนงวิชา
แขนงวิชาเคมี
เน้นศึกษาความรู้ทางด้านเคมีในเรื่องของสสาร ปฏิกิริยาเคมี และยังรวมถึงองค์ประกอบ โครงสร้าง คุณสมบัติของสสารอีกด้วย มีการทดลองเกี่ยวกับ อาหารหรือยารวมไปถึงเครื่องสำอาง
เรียนจบ สามารถทำงานในตำแหน่ง นักเคมี เจ้าของธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับด้านเคมี นักวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง
แขนงวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
ศึกษาการคิดที่มีหลักการและเหตุผล เพื่อนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
เรียนจบสามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิทยาการข้อมูล วิศวกรข้อมูล นักวิเคราะห์ข้อมูล นักคณิตศาสตร์ประกันภัย นักวิเคราะห์ธุรกิจ นักวิเคราะห์การลงทุน ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูล นักสถิติ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการและนักวิจัย
สาขาวิชาชีววิทยาสิ่งแวดล้อม
ศึกษาแนวความคิด และพื้นฐานเกี่ยวกับชีววิทยาสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตต่อสภาพแวดล้อม
เมื่อเรียนจบ สามารถทำงานได้ทั้งภาครัฐ และเอกชน ในตำแหน่งงาน นักวิจัยหรือผู้ช่วยนักวิจัยด้านชีววิทยา นักพฤกษศาสตร์ นักนิเวศวิทยา
สาขาวิชาจุลชีววิทยา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตมีจุดเด่นในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางด้าน
จุลชีววิทยา จุลินทรีย์โปรไบโอติก พันธุวิศวกรรม เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การสร้างสูตร และผลิตภัณฑ์เพื่อความงามและอาหารเสริม การควบคุมและประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่ต้องการของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และโรงงานอุตสาหกรรมในภาคเอกชน
ประกอบด้วย 2 แขนง
1. แขนงวิชาจุลชีววิทยาอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์
2. แขนงวิชานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
เมื่อเรียนจบ สามารถทำงานได้ทั้งภาครัฐ และเอกชน ในตำแหน่งงาน นักประกันคุณภาพ (QA) ในส่วนการผลิต นักควบคุมการผลิตฝ่ายโรงงาน หัวหน้าฝ่ายผลิต นักควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ (QC) นักบริหารผลิตภัณฑ์ นักวิทยาศาสตร์ด้านจุลชีววิทยา นักตรวจสอบคุณภาพวิเคราะห์ด้านจุลชีววิทยา นักวิจัย ผู้ช่วยวิจัย และ ผู้แทนขายด้านจุลชีววิทยา
สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์
เรียนเกี่ยวกับ กายวิภาคศาสตร์ การเก็บหลักฐานหรือวัตถุพยาน เพื่อพิสูจน์หาความจริง
เมื่อเรียนจบ สามารถทำงานได้ทั้งภาครัฐ และเอกชน ในตำแหน่งงาน นักนิติวิทยาศาสตร์หรือนักวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาการ (Food Science)
เป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการการผลิตและแปรรูปผลผลิต ใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น วิเคราะห์อาหารทางด้านเคมี รวมถึงมาตรฐานอุตสาหกรรม
เรียนจบมาสามารถทำงานได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ในตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ แผนก QC และนักวิเคราะห์คุณภาพอาหาร (Food Scientists)
สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
เน้นภาคปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี โดยใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้พัฒนาการแปรรูปอาหาร เพื่อสร้างสรรค์อาหารยุคใหม่
เรียนจบมาสามารถทำงานได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ในตำแหน่ง นักโภชนาการ, หัวหน้าพ่อครัว (Chef), พ่อครัว (Cook) และเจ้าของกิจการร้านอาหาร
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบสื่อ ออกแบบระบบเว็บไซต์ เช่น การเขียนโปรแกรม การสร้างงานกราฟิก
เมื่อเรียนจบ สามารถทำงานได้ทั้งภาครัฐ และเอกชน ในตำแหน่งงานต่างๆ เว็บโปรแกรมเมอร์, นักพัฒนาเว็บไซต์ และผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ
เรียนเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพร่างกายและจิตใจของนักกีฬาให้สามารถเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ สรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์ จิตวิทยา ชีวกลศาสตร์ โภชนาการ การออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกาย
เมื่อเรียนจบ สามารถทำงานได้ทั้งภาครัฐ และเอกชน ในตำแหน่งงาน นักฝึกสอนกีฬา และ นักวิทยาศาสตร์การกีฬาในสโมสรกีฬา
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมข้อมูล
1.แขนงวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีขั้นตอนการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์
ทฤษฎีภาษาโปรแกรม หลักการเขียนอัลกอริทึม
ทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ
ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์
และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
เรียนจบ สามารถทำงานในตำแหน่ง
นักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักวิเคราะห์ระบบ
นักทดสอบซอฟต์แวร์ นักออกแบบเว็บ
ผู้บริหารเว็บ วิศวกรระบบ วิศวกรเครือข่าย
ผู้ประสานงานโครงการด้านเทคนิค
เจ้าหน้าที่สนับสนุนด้านเทคนิคซอฟต์แวร์
เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือด้านเทคนิค
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
2.แขนงวิชาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์สถิติเชิงธุรกิจวิทยาศาสตร์ข้อมูล
คือศาสตร์การจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูล
การเก็บรวบรวม จัดการ วิเคราะห์
และเปลี่ยนแปลงข้อมูลอันมหาศาล
ไปสู่ความรู้อันมีคุณค่า
สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อีกมากมาย
ซึ่งสำคัญมากต่อการพัฒนา
ธุรกิจดิจิทัลในปัจจุบัน
เพราะข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาจะสามารถใช้ในการตัดสินใจหรือวางแผนอนาคตได้
เรียนจบ สามารถทำงานในตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล, ผู้เชี่ยวชาญด้าน Big data, นักสถิติ, นักวิจัย, นักวิเคราะห์ระบบ, นักวิเคราะห์นโยบายและแผนในสายงานควบคุมคุณภาพ, งานคลังสินค้า, งานวางแผนผลิตภัณฑ์ ฯลฯ
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
หลักสูตรที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา การอยู่ร่วมกันของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการมลพิษต่างๆ เช่น มลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ทางดิน การอยู่ร่วมกันของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และมีเป้าหมายอยู่ที่การส่งเสริมความเข้าใจในสิ่งแวดล้อมและลงมือเพื่อแก้ไขปัญหาอันจะส่งผลต่อความยังยืนของระบบนิเวศ
เมื่อเรียนจบ สามารถทำงานได้ทั้งภาครัฐ และเอกชน ในตำแหน่งงาน เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม นักวิชาการสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่อุทยาน เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า หรือเจ้าหน้าที่พิทักษ์เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมดิจิทัลและคอนเทนท์
เป็นสาขาวิชาเน้นสอนสหวิทยาการดิจิทัล คือ การบูรณาการศาสตร์ดิจิทัล โดยมีพื้นฐานของเทคโนโลยีดิจิทัล ธุรกิจดิจิทัล การสื่อสารดิจิทัล เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ดิจิทัลอาร์ต สามารถผลิตบัณฑิตที่มีความเข้าใจในกระบวนการสร้างสรรค์งานด้านดิจิทัลคอนเทนท์ ทั้งด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ได้อย่างลงตัว
ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แขนงวิชาดังนี้
1. แขนงวิชาการจัดการนวัตกรรมดิจิทัล
2. แขนงวิชาการจัดการดิจิทัลคอนเทนท์
เรียนจบ สามารถทำงานในตำแหน่ง ผู้ผลิตสื่อเนื้อหาดิจิทัล ผู้ออกแบบการแสดง ผู้จัดการโครงการ และ ผู้ออกแบบงานสร้างผู้ออกแบบอินโฟกราฟิก